มันสื่อถึงอะไรได้บ้างครับ
ออกกำลังกายก็อาทิตย์ละ 4-5 วัน วันละครึ่ง ชม. แต่ผมอ้วนครับ หนัก 81 สูง 170 เพิ่งมาเป็นตอนเดือน 5 นี้เองครับ มันพอจะบอกอะไรเราได้มั๊ยครับกับการลุกแล้วหน้ามืดทุกครั้งเนี่ย
By: คุณชายทหารไทย
Since: 19 พ.ค. 55 20:58:08
มันสื่อถึงอะไรได้บ้างครับ
ออกกำลังกายก็อาทิตย์ละ 4-5 วัน วันละครึ่ง ชม. แต่ผมอ้วนครับ หนัก 81 สูง 170 เพิ่งมาเป็นตอนเดือน 5 นี้เองครับ มันพอจะบอกอะไรเราได้มั๊ยครับกับการลุกแล้วหน้ามืดทุกครั้งเนี่ย
By: คุณชายทหารไทย
Since: 19 พ.ค. 55 20:58:08
การมีหน้ามืด จากการนั่ง เป็นท่ายืน … ภาษาอังกฤษ จะเรียกว่า
orthostatic hypotension ครับ
มีหลายสาเหตุมาก เลย แต่ที่เจอบ่อยๆ คือ … น้ำ/เกลือแร่ ในร่างกายไม่เพียงพอ
โรคยากๆ ก็จะมี โรคหลอดเลือด โรคหัวใจ หรือ การกินยาบางชนิด
ถ้าจะให้แนะนำ .. ควรไปพบแพทย์ เพื่อซักประวัติ ตรวจร่างกาย ดีกว่า ครับ
ลองดูนะครับ
By: DrDae
Since: 19 พ.ค. 55 21:21:35
มีคำถามด้วยความวิตกกังวลบ่อยๆว่า เมื่อนั่งนานๆแล้วลุกขึ้นยืนจะหน้ามืด อาการเช่นนี้แสดงว่ามีโรค หรือมีความผิดปกติอย่างใดในร่างกายหรือเปล่า
อาการอย่างที่ว่านี้มีคนเป็นกันมาก บางคนเป็นบ่อยๆ บางคนนานๆจะเป็นสักครั้งหนึ่ง อาการเช่นนี้พอจะอธิบายกันได้อย่างง่ายๆ คงจะต้องพูดถึงเรื่องคสวามดันโลหิตเสียก่อนบ้างเล็กน้อย
ความดันโลหิตมีอยู่ในหลอดเลือดทั้งหลอดเลือดแดงและหลอดเลือดดำ แต่เมื่อพูดกันถึงเรื่องความดันโลหิตแล้ว มักจะหมายถึงความดันโลหิตในหลอดเลือดแดง
ความดันโลหิตก็คือแรงที่จะดันให้เลือดผ่านหลอดเลือดออกไปเลี้ยงร่างกาย ซึ่งจะไปได้ถึงอวัยวะทุกอวัยวะ ความดันโลหิตที่ปรกตินั้นก็เป็นแรงดันที่จะส่งเลือดไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆ รวมทั้งสมองได้เพียงพอตามความต้องการ ค่าของความดันโลหิตของแต่ละคนมีความแตกต่างกัน และจะแตกต่างกันตามเพศ อายุ อาชีพ สภาพแวดล้อม ชีวิตความเป็นอยู่ ในคนคนเดียวกัน ความดันโลหิตก็จะมีเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา โดยจะแตกต่างไปตามเวลา สภาพของอากาศ การออกแรง อาหาร การพักผ่อนหรือตามสภาพอารมณ์
การวัดความดันโลหิตโดยมากวัดกันที่แขน ค่าของความดันโลหิตจะแตกต่างกันไป เมื่อวัดในท่าที่แตกต่างกัน การวัดเมื่ออยู่ในท่านั่งจะได้สูงกว่าวัดเมื่ออยู่ในท่านอน การวัดในท่ายืนก็จะสูงกว่าวัดเมื่ออยู่ในท่านั่ง
เวลานั่งนานๆแล้วลุกขึ้นทันทีจะเกิดหน้ามืดนั้น เพราะเมื่อเวลานั่งจะมีความดันโลหิตส่งเลือดไปเลี้ยงสมอง ได้พอเหมาะ แต่พอลุกขึ้นทันทีศีรษะจะสูงขึ้น แต่ด้วยความดันโลหิตเดิมจะไม่พอส่งเลือดไปเลี้ยงสมองที่สูงขึ้นไปได้พอ เลือดไปเลี้ยงสมองลดน้อยลง จึงทำให้เกิดอาการหน้ามืด (เหมือนจะเป็นลม) ต่อเมื่อสักครู่หนึ่งหัวใจสูบฉีดเลือดแรงขึ้น ความดันโลหิตแรงขึ้นพอที่จะส่งเลือดไปเลี้ยงสมองได้ อาการหน้ามืดนั้นก็จะหายไปได้
โดยมากอาการหน้ามืดนั้นจะเป็นนานราวๆ 12 – 15 วินาที คนที่นั่งแล้วลุกยืนมีอาการหน้ามืดเช่นนี้ ก็ลองจับเวลาดู เมื่อถึง 12 วินาที ก็มักจะหายหน้ามืดได้
** ลักษณะอาการหน้ามืดเมื่อลุกขึ้นยืนเร็วๆเช่นนี้ ไม่มีความหมายหรือแสดงว่ามีโรคอย่างใด คนปรกติอาจเป็นได้ แต่ก็อาจเป็นได้ง่ายในรายที่มีร่างกายอ่อนเพลีย ขาดการพักผ่อนหลับนอน ขาดอาหาร มีเลือดจาง หรือคนที่อ่อนแอมากๆจากการเป็นโรคเรื้อรังมานาน
เอ่อ.. ไม่รู้จะอธิบายยังไง เลยก๊อปมาให้อ่านเลย ยาวไปขอโทษด้วยนะคะ แหะๆๆ ^^"
ที่มา http://hospital.moph.go.th/nadun/%CA%D2%C3%D0%B9%E8%D2%C3%D9%E9.htm
By: Nirancha
Since: 19 พ.ค. 55 21:24:33
ในกรณีความดันต่ำก็เป็น
By: Wairoon
Since: 19 พ.ค. 55 22:51:19
เป็นมาตั้งแต่หลังผ่าตัดตอนอายุ 17 แล้วค่ะ ก็พยายามไม่ทำค่ะ
By: ป้าป้าป้า
Since: 20 พ.ค. 55 09:53:02
ลองดูเคสนี้ด้วยครับ คล้ายๆ กันกับข้างบน
ความดันตกในท่ายืน (Postural Hypotension)
ในคนปกติ เมื่อลุกขึ้นยืน จะทำให้มีเลือดคั่งที่เท้าเป็นเหตุให้ปริมาตรของเลือดที่ไหลเวียนในกระแสเลือดลดลง ร่างกายจะเกิดการปรับตัวโดยอัตโนมัติ ให้หลอดเลือดแดงหนตัวทันที เพื่อให้ความดันเลือดอยู่ในปกติ ขณะที่เปลี่ยนจากท่านอนเป็นท่ายืน จะมีภาวะความดันต่ำกว่าปกติทันที ทำให้มีอาการหน้ามืด วิงเวียน คล้ายเป็นลมชั่วขณะ เนื่องจากเลือดไปเลี้ยงสมองไม่พอ
สาเหตุที่พบบ่อย คือ เกิดจากยา เช่น ยารักษาความดันโลหิตสูง , ยานอนหลับ , ยารักษาโรคจิตบางชนิด เป็นต้น ยังอาจพบในผู้ป่วยโรคเบาหวาน ผู้ป่วยที่เป็นโรคปลายประสาทอักเสบ , ผู้ป่วยที่ขาดอาหาร ภาวะโพแทสเซียมในเลือดต่ำ , โรคแอดดิสัน
มีอาการหน้ามืด วิงเวียน จะเป็นลมขณะที่ลุกขึ้นนั่งหรือยืนทุกครั้ง อาจรู้สึกคลื่นไส้ อาเจียน ตาพร่า ตาลายร่วมด้วย สักครู่หนึ่งก็หายปกติ ในรายที่เป็นมากๆอาจมีอาการหมดสติ หรือชักร่วมด้วย เมื่อล้มตัวลงนอน ก็หายได้เอง
การตรวจร่างกาย มักพบว่า ความดันช่วงบน(ความดันซีสโตลี) ที่วัดในท่ายืนต่ำกว่าท่านอนมากกว่า 30มิลลิเมตรปรอท เช่น ความดันในท่านอนวัดได้ 130/80มิลลิเมตรปรอท และความดันในท่ายืนวัดได้ 90/60 มิลลิเมตรปรอท (ความดันช่วงบนในท่ายืนตกไป 40 มิลลิเมตรปรอท)
ข้อแนะนำ
1. ภาวะความดันตกในท่ายืน เป็นเพียงอาการที่ปรากฏให้เห็น ไม่ใช้โรค ดังนั้นจึงควรหาสาเหตุ และให้รักษาตามสาเหตุที่พบ
2. แนะนำให้ผู้ป่วยลุกขึ้นจากเตียงช้าๆ อย่าลุกพรวดพราด และให้งดอาหารเค็ม
By: PICCANINNY’S DAD
Since: 20 พ.ค. 55 11:07:00
เป็นเหมือนกัน..
By: อีกฝั่งฟากของเวลา
Since: 20 พ.ค. 55 21:44:48
เป็นเหมือนกันค่ะ
By: Devil Gal
Since: 21 พ.ค. 55 09:25:00